วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

19 : 10 :12 ,, Chapter 2 ศัพท์ทางเทคนิคของการเล่นหุ้น


สวัสดีตอนหัวค่ำของที่ไต้หวันนะค่ะ วันนี้อรไปเรียนวิชา Research กับ Negotiation 
จะว่าไปแล้วก็สนุกดีนะเพราะไม่มีสอบ Mid-term  แต่ต้องเขียน Paper ส่งเเทนก็ยังพอทนได้อยู่  :)


วันนี้เรามาเริ่มศึกษา จากขั้นเบื่องต้นกันดีกว่านะค่ะ เนื่องมาจากด้วยความที่เราเพิ่งเริ่มต้น
เราก็ควรจะศึกษาตั้งเเต่พื้นฐานของการเล่นหุ้น เวลาไปฟังข่าวหรือฟังคนเค้าคุยกันจะได้เข้าใจ
อรเลยจะเริ่มจากคำศัทพ์ทางเทคนิคของการเล่นหุ้นนะค่ะ


1.      นักลงทุนแนว VI (Value Investment) คือนักลงทุนที่สนใจแต่หุ้นพื้นฐานดีเท่านั้น นักลงทุนประเภทนี้จะเข้าไป
ซื้อหุ้นที่เขาประเมินแล้วว่ามีพื้นฐานดี โดยจะเข้าซื้อในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือราคาหุ้นตัวนั้นๆตกไม่ว่าจะด้วย
เหตุใด และจะถือครองเป็นเวลานาน ไม่เน้นกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ



2.      นักลงทุนแนว Technical คือ นักลงทุนที่ใช้กราฟหรือเทคนิคต่างๆเข้าช่วยในการตัดสินใจซื้อหุ้น นักลงทุน
ประเภทนี้จะอาศัยกราฟเพื่อดูรอบขึ้น-ลงของหุ้นและจะเข้าทำการซื้อ-ขายเป็นรอบสั้นๆ โดยต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า
หุ้นตัวนั้นยังมี Gapของราคาให้เล่นอยู่ (ซื้อแพง ขายแพงกว่า)


3.      Commodity สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำ, น้ำมัน, ข้าว, แป้ง, อาหารสัตว์, สังกะสีและเหล็ก......สินค้าโภคภัณฑ์
จะมีคุณภาพที่คล้ายกันจนแยกไม่ออกว่าใครเป็นผู้ผลิต และมีการซื้อขายกันทั่วโลกราคาเดียว โดยราคาซื้อขายจะ
ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานของสินค้าในช่วงนั้นๆ เช่น ของขาดตลาดและมีความต้องการใช้ ราคาก็จะแพงเป็นต้น

4.      Fundamental พื้นฐาน, รากฐานของหุ้น (นักลงทุนแนว VI ต้องใช้ในการวิเคราะห์)

5.      Dividend เงินปันผล (นักลงทุนแนว VI จะสนใจในส่วนนี้)

6.      Capital gain กำไรส่วนต่างของราคาในการขายหลักทรัพย์ (นักลงทุนแนว Technical จะเล็งในส่วนนี้)

7.      Yield ผลตอบแทน(ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย)

8.      Indicator ตัวชี้วัด...เป็นส่วนประกอบในChart แสดงออกมาในรูปกราฟเพื่อบอกถึง Trendของหุ้นตัวนั้นๆ 
เช่น MACD, RSI

9.      Divergence สัญญาณกลับตัวในทิศทางตรงกันข้ามของหุ้น

10.  Uptrend หุ้นในช่วงขาขึ้น

11.  Downtrend หุ้นในช่วงขาลง

12.  Sideways เป็นช่วงที่กราฟหุ้นวิ่งออกข้าง เคลื่อนไหวไม่ชัดเจนว่าราคาจะขึ้นหรือจะลง

13.  MACD = Moving Average Convegence Divergence เส้นบอกจุดที่ควรซื้อขายหุ้น 
โดยให้ใช้ประกอบกับเส้น EMA  หรือสามารถดูจังหวะการเข้าซื้อ-ขายจากChartของMACDเอง

14.  EMA = Exponential Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาหุ้น 
โดยสามารถเลือกเป็นรอบๆ เช่น EMA25 คือ ค่าเฉลี่ยของราคาในรอบ 25วันที่ผ่านมา

15.  RSI = Relative Strength Index...เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ใช้ในการดูการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้น
           -ถ้าเกิน 70ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over bought หรือ ซื้อกันมากเกินไป 
เมื่อซื้อกันมากเกินก็แสดงว่าราคาสูงไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะเริ่มตกลง (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)
          -ถ้าต่ำกว่า 30ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นเข้าเขต over sold หรือ ขายกันมากเกินไป 
ซึ่งแสดงว่าราคาหุ้นถูกจนเกือบต่ำสุด ต่อจากนี้ราคาก็จะเริ่มขึ้น ให้เตรียมตัวซื้อ (แต่ให้รอดูสัญญาณให้แน่ชัด)

         ปล. บางตำราบอกไว้ว่า การซื้อขายโดยการใช้ RSI ตัดกับ 30,70 หรือ 20,80 จริงๆไม่
สมควรเท่าไหร่ เพราะในระยะยาวโอกาสขาดทุนมากกว่ากำไร จริงๆแล้วให้จับตามองว่าหุ้นมีโอกาสกลับตัวเกิด Top หรือ Bottom แต่ไม่ใช่จุดซื้อขาย  เพราะเวลาหุ้น Bullish RSI จะวิ่งเหนือ 70 ได้นานๆ หรือเวลา Bearish ก็ลงมาวิ่งต่ำกว่า 30 ได้นานๆเช่นกัน (หมายถึงให้ถือ holdไว้ก่อน รอดูว่าเมื่อเกิดจุดกลับตัวของราคาหุ้นแล้วค่อยซื้อ-ขาย)

16.  ค่า P/E ....ในที่นี้ P = Price  E = Earnings per share  (ราคา/กำไรต่อหุ้นตัวนั้น) 
ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาแพงหรือถูก ในอีกทางหนึ่งก็จะทำให้รู้ว่าต้องถือไว้อีกกี่ปีถึงคุ้มทุน เช่น หุ้น ก.ราคา 100บ. กำไรต่อหุ้น 20บ./ปี                =>        100/20 = 5  เท่า
      หุ้น ข.ราคา 40บ.(ถูกกว่า) แต่กำไรต่อหุ้นเพียง 2บ./ปี      =>        40/2    = 20 เท่า
**แสดงให้เห็นว่าในที่นี้ หุ้น ข. ถือว่าซื้อมาแพงกว่า และหุ้น ก. สามารถได้ทุนคืนเร็วกว่าด้วย
      
17.  ค่า P/BV....Price / Book Value “มูลค่าทางบัญชี”.....(ราคา/เงินทุนที่บริษัทใส่ลงไป)
เช่น หุ้นราคา 100 / เงินลงทุนที่ใส่ลงไป 200    =>    100/200 = 0.50     
            เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราซื้อหุ้นในขณะนั้นที่ราคา 100บ. (ค่า P/BV =0.50) เหมือนเราลงทุนถูกกว่าเจ้าของ 50สตางค์ ต่อหุ้น


      18. ราคาเสนอซื้อ (Bid price) : ราคาสูงสุดที่นักลงทุนประสงค์ที่จะจ่ายเพื่อทำการซื้อหลักทรัพย์ โดยทั่วไปราคานี้         เป็นราคาที่นักลงทุนสามารถขายหลักทรัพย์ได้เช่นกัน

      19. ราคาเสนอขาย (Offer price) : ราคาที่นักลงทุนประสงค์ที่จะขาย โดยทั่วไปราคานี้เป็นราคาที่นักลงทุนสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้เช่นกัน

      20. ค่าคอมมิชชั่น (Commission) : ค่าธรรมเนียมที่จะจ่ายให้กับทางบริษัทหลักทรัพย์ฯเพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้น หรือ พันธบัตร

      21. คำสั่งซื้อขายต่อวัน (Day order) : คำสั่งที่ทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จะหมดอายุภายในวันโดยอัตโนมัติ หากไม่มีการซื้อขายสำเร็จภายในวันที่ป้อนคำสั่ง
     22.การซื้อขาย 1 วัน (Day trading) : การทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ภายในวันเดียวกัน
     23. ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) : เครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งมูลค่าของอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของอนุพันธ์, หลักทรัพย์, หรือ ดัชนี เช่น ตราสารอนุพันธ์ที่เป็นใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (warrant) หรือ สัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและใบสำคัญอนุพันธ์
     24. เงินปันผล (Dividend) : เงินส่วนแบ่งกำไรของบริษัทที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ์
     25. ผลกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share-EPS) : ผลกำไรของบริษัทหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท
     26. คำสั่งซื้อขายสมบูรณ์ (Execution) : การทำการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์สำเร็จ
     27. ราคาใช้สิทธิ์แปลงสภาพ (Exercise price) : ราคาใช้สิทธิ์แปลงสภาพที่ถูกกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อหรือขายก็ได้
     28. วันหมดอายุแปลงสภาพ (Expiration date) : วันสุดท้ายของการแปลงสภาพ (แบบอเมริกัน) หรือ วันแปลงสภาพซึ่งเป็นวันเดียวเท่านั้น (แบบยุโรป)
     29. ตราสารหนี้ (Fixed Income) : หลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรเอกชนที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ตามกำหนดเวลา และสามารถชำระคืนเงินต้นเมื่อครบอายุของหลักทรัพย์
    30. หุ้นเสนอขายต่อสาธารณะชน (Initial Public Offering-IPO) : การกระจายหุ้นของบริษัทมหาชนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
    31. หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed stocks) : หลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
    32. มูลค่าตลาด (Market value) : มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ปัจจุบัน
    33. มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value-NAV) : มูลค่าตลาด ณ ปัจจุบัน ของหุ้นบริษัทกองทุนรวม มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนฯจะคำนวณรายวันด้วยสินทรัพย์รวมของกองทุนฯ, หลักทรัพย์, เงินสด, และรายได้ส่วนเพิ่ม หักลบหนี้สิน แล้วหารด้วยจำนวนหุ้น ณ ปัจจุบัน
    34. การหักลดยอดสุทธิ (Net offset) : การที่ทำรายการซื้อและขายหลักทรัพย์ในวันเดียวกัน โดยการทำรายการตรงกันข้ามเพื่อปิด position
   35. เศษหุ้น (Odd lot) : จำนวนหุ้นที่ต่ำกว่า 100 หุ้นบนกระดานหลักที่จำเป็นจะต้องทำการซื้อขาย
   36. ราคาเปิด (Opening price) : ราคาที่ตลาดฯเปิดทำการซื้อขายของวันนั้นๆ
   37. พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) : รายการหลักทรัพย์ที่ถือครองไว้ทั้งหมด เช่น หุ้น หรือตราสารทางการเงิน เป็นต้น
   38. Price-Earnings Ratio (PE Ratio) : ราคาตลาดของหลักทรัพย์ หารด้วยกำไรต่อหุ้น ณ ปัจจุบัน หรือ คาดการณ์ในอนาคต นักลงทุนจะใช้ PE Ratio เป็นตัววัดขั้นพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่เหมาะสมน่าลงทุนเปรียบเทียบกับหลักทรัพย์อื่น ๆ ค่า Ratio นี้เกี่ยวข้องกับค่าเฉลี่ยของตลาดและความคาดหวังต่อการเติบโตของกำไรของตลาด
   39. ข้อมูลราคาที่เสนอซื้อ-ขาย (Quotation) : ข้อมูลแสดงราคาเสนอซื้อ-เสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นักลงทุนต้องการซื้อ / ขายหุ้น ณ ขณะนั้น
   40. การชำระราคาหลักทรัพย์ (Settlement) : การจ่ายชำระค่าซื้อ – ขาย หลักทรัพย์ในวันที่กำหนด
   41. วันครบกำหนดชำระ (Settlement date): วันครบกำหนดชำระเงินค่าซื้อ-ขาย หลักทรัพย์ ที่ต้องชำระค่าซื้อ – ขายหลักทรัพย์ ณ วันครบกำหนดชำระ
   42. ช่วงราคา (Spread) : ส่วนต่างราคาระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายของหลักทรัพย์นั้น ๆ
   43. ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (Warrant) : หลักทรัพย์ที่ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นในราคาที่และช่วงเวลาที่กำหนด หรือบางกรณี ใบสำคัญแสดงสิทธิ์บางครั้งจะควบไปกับหลักทรัพย์เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ซื้อหุ้นเพิ่มและอาจจะแยกซื้อ-ขายหลังจากการออกจำหน่ายหุ้น ซึ่งใกล้เคียงกับสิทธ์การเรียกซื้อคืน (call options)
   44. อัตราผลตอบแทน (Yield) : รายได้ต่อปี ณ ปัจจุบัน ที่ลงทุนกับกองทุนฯ หรือการลงทุนอื่น ๆ แสดงรายได้ในรูปแบบการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากกองทุนฯ เป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่ลงทุน

45. SET = Stock Exchange of Thailand = ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท)
46. Broker = บล.ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เดิมก่อนเกิดวิกฤติการณ์เศรษกิจรอบที่แล้ว มีอยู่ 50 แห่ง แต่ ปัจจุบันหลังจากถูกปิดกิจการไปหลายแห่ง และมีการเปลี่ยนแปลงทีมบริหาร เปลี่ยนชื่อบริษัทกันวุ่นวายปัจจุบันเหลือดำเนินการอยู่ 27 แห่ง และยังมี Sub Broker อีกหลายแห่ง ซึ่งสามารถให้บริการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นให้แก่ลูกค้า ได้เช่นกันโดย Sub Broker เหล่านี้จะส่งคำสั่งซื้อขายผ่านให้กับทาง Broker ที่เป็น คู่ค้ากันอยู่ อีกต่อหนึ่ง
ในทางปฏิบัติจะไม่มีความล่าช้าในการส่งคำสั่งเนื่องจาก Sub Broker จะส่งคำสั่งผ่านเข้าสู่ระบบการจัดการของตลาดโดยตรงอยู่แล้ว(ในนามของโบรคเก้อร์)
กรณีเป็นกองทุนเปิด คือ กองทุนที่ สามารถขายคืนได้ตลอดอายุการลงทุน แต่ราคาจะต่ำกว่าNAV ของหุ้นนั้นเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็เปิดจำหน่ายให้ กับผู้ต้องการซื้อได้ตลอดเวลาเช่นกัน ระหว่างนั้นถ้ามีผลกำไร ก็จะมีการปันผลออกมาให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นระยะ
47. กองทุนปิด คือกองทุนที่กำหนดระยะเวลาอายุ และขนาดกองทุนที่แน่นอน จะเปิดขายครั้งแรกเมื่อเริ่มตั้งกองทุน หลังจากนั้น จะไม่มีการรับซื้อหรือ ขาย อีก(ปิด) จนกว่าจะหมดอายุกองทุน จะนำสินทรัพย์ ทั้งหมดที่มีอยู่มาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนนั้น โดยระหว่างนั้นอาจจะมีการปันผลถ้ามีกำไรออกมาให้กับผู้ถือหน่วยเป็นระยะ (เงินปันผลจากหน่วยลงทุนนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่ต้องหักภาษีณ.ที่จ่าย แต่ก้อนำไปเครดิตภาษีไม่ได้เช่นกัน) ถ้าต้องการซื้อ หรือ ขาย ก่อนครบอายุกองทุน ต้องไปทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านโบรคเกอร์
48. Dividend Yield = เปอร์เซนต์เงินปันผลตอบแทนของหุ้นต่อปี หาได้จากเงินปันผลรวมในปี ล่าสุด เทียบกับ ราคาหุ้น คิดออกมา เป็นเปอร์เซนต์



ศัพท์ทางเทคนิกของการเล่นหุ้นทั้งหมดโดยประมาณนะค่ะ ให้เพื่อนๆลองไปอ่านผ่านๆตา
เวลาที่ได้ใช้จริงๆคงจำได้โดยไม่ต้องท่องจำ แต่ถ้าวันไหนลืม ก็สามารถเข้ามาอ่านกันได้นะค่ะ
สำหรับวันนี้ อร ต้องไปทำการบ้านก่อน ไว้พรุ่งนี้จะมาอัพเดทข้อมูลสำหรับ Baby junior trader อย่างอรให้ฟังกันเรื่อยๆ
สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านถ้าอยากรู้เรื่องอะไร หรือมีข้อติชม สามารถ Comment ไว้ได้นะค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ :)

2 ความคิดเห็น:

  1. เหมาะสำหรับผู้เริ่มลงทุนมาก บทความดี พยายามต่อไปนะคะ

    ตอบลบ